17/10/56

สารออกฤทธิ์ในเห็ดหลินจือ - โพลีแซกคาไรด์ ( Polysaccharide )

มิสเตอร์เลียวซุนเส็ง ผู้สามารถวิจัย ค้นคว้า และไขปริศนาความลี้ลับของเห็ดหลินจือ รากและดอก 6 สายพันธุ์
ตามภูมิปัญญาแพทย์จีนโบราณ จนประสบความสำเร็จ โดยนำเห็ดหลินจือมาเพาะเลี้ยงด้วยเนื้อเยื่อในโรงเพาะเลี้ยง
และแปรรูปโดยสกัดเห็ดหลินจือด้วยกรรมวิธีสมัยใหม่บรรจุแคปซูล และ ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นตำรับยาแผนโบราณ


ในปี 1983 เห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่ามีขึ้นตามธรรม่ชาติถึง 113 สายพันธุ์ สายพันธุ์ "กาโนเดอร์มา ลูซิดั่ม" เป็นสายพันธุ์ที่มีสรรพคุณทางยาสูงสุด 

ตำราแพทย์แผนจีนได้แบ่งสมุนไพรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สมุนไพรชั้นสูง ชั้นกลางและชั้นต่ำ สมุนไพรชั้นสูง เป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและฟื้นฟู ความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลาย มากมายหลายระบบ ทั้งยังสามารถใช้ได้ในปริมาณมาก และสามารถใช้ติดต่อกันได้นาน โดยปราศจากผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งมีสมุนไพรไม่กี่ชนิดที่อยู่ในกลุ่มนี้ และเห็ดหลินจือคือหนึ่งในนั้น 

มีเอกสารทางวิชาการมกกว่า 100 ฉบับ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในห้องปฏิบัติการ ตรวจสอบโครงสร้างทางเคมีของเห็ด พบว่าเห็ดหลินจือมีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์มากกว่า 150 ชนิด มีทั้งคุณค่าทางโภชนาการที่สูง และสารออกฤทธิ์ สรรพคุณทางยาในการบำรุงรักษา พอที่จะจำแนกสารออกฤทธิ์ได้เป็นหลายกลุ่ม

วันนี้ขอพูดเรื่อง โพลีแซกคาไรด์ ก่อน

1. สารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide)




โพลีแซกคาไรด์ เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่อาจเกาะติดกับโปรตีนหรือสารอื่นๆ
ในเห็ดหลินจือมีโพลีแซกคาไรด์กว่า 50 ชนิดมากกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ และมีสรรพคุณทางยาสูง โพลีแซกคาไรด์ตัวที่มีอิทธิพลในการต้านมะเร็งคือ เบตา - ดี - กลูแคน หรือ เรียกสั้นๆ ว่า กลูแคน

เบต้า-ดี กลูแคน (Bata-D-Glucan) เป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพ ของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งดังเดิม เบต้า-ดี-กลูแคน มีโครงสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อน  และมีโมเลกุลมาต่อกันยาวมาก ไม่สามารถย่อยได้ด้วยกรด และ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร บางท่านไม่สามารถย่อยได้ก็จะมีอาการถ่ายท้อง ในกรณีเช่นนี้ควรรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง เพราะวิตามินซี จะช่วยย่อยเบต้า-ดี-กลูแคน ให้มีโมเลกุลสั้นลงพร้อมแก่การดูดซึม ซึ่งจะช่วยลดอาการท้องเสียได้ 


สารโพลีแซกคาไรด์ในเห็ดหลินจือ สามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาว ทั้งชนิด ทีเซลล์ และชนิด บี-เซลล์ กระตุ้นเซลล์ไมโครฟาจ และ เอ็นเคเซลล์ ให้สร้างสาร ทูเมอร์เนโครซิส-แฟกเตอร์ หรือสารทีเอ็นเอฟ และการผลิตสารอินเตอร์ลิวคิน-2 จากเซลล์สะพลีโนไซด์

การที่สารประกอบโพลีแซกคาไรต์ ในเห็ดหลินจือไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันนั้น เป็นการกำจัดเซลล์มะเร็งทางอ้อม และเป็นการทำงานตามระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ ไม่มีผลต่อการทำงานปกติของร่างกาย ดังนั้น องค์การอนามัยโลก จึงจัดให้เห็ดหลินจืออยู่ในกลุ่มสารธรรมชาติ ที่ดัดแปลงเพื่อการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกัน มีชื่อย่อว่า "บีอาร์เอ็ม" ( BRM) หรือชื่อเต็มว่า " ไบโอโลจิคอลเรสพอนซ์โมดิฟายเออร์" 

ประโยชน์ของโพลีแซกคาไรด์

1. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก

2. ลดระดับน้ำตาลในเลือด(Hypoglycemic effect) จากการเพิ่มอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด

3. บำรุงหัวใจ โดยไปเพิ่มความแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiotonic Action)

4. ต้านการอักเสบ ( Anti - inflamation ) 

5. ช่วยเร่งกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนในเลือด ในไขกระดูก และตับ

6. กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด บี-เซลล์ ( B-cells )  และ ที-เซลล์ ( T- cells ) เพิ่มประสิทธิภาพในของระบบภูมิคุ้มกันโรค ( Immuno modulation ) เมื่อทำการทดลองในสัตว์ก็พบว่าความสามารถในการปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันนี้มีผลต่อเนื่องในการต่อต้านสารแพ้ ( Antiallergy ) การต่อต้านเชื้อไวรัส ( Antivirus ) การต่อต้านมะเร็ง ( Antitumour) และการลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เคมีบำบัด และ รังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง  

สำหรับความปลอดภัยในการใช้โพลีแซกคาไรด์ในเห็ดหลินจือ มีการวิจัยที่ญี่ปุ่นพบว่า โพลีแซกคาไรด์ และสารอื่น ๆ ในเห็ดหลินจือ ไม่ทำให้เซลล์ปกติกลายพันธุ์ และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง และถ้าใช้เห็ดหลินจือร่วมกับวิตามินซีวันละ 6 - 12 กรัม จะทำให้กลุ่มโมเลกุลของโพลีแซกคาไรด์ในเห็ดหลินจือมีขนาดสั้นลง ช่วยลดความหนืด ย่อยได้ง่ายขึ้น และยังช่วยลดอาการท้องเสีย จากการใช้เห็ดหลินจือในระยะแรกๆ ด้วย



ขอบคุณข้อมูล หนังสือเห็ดหลินจือ นายแพทย์ สุรพล รักปทุม และ นายแพทย์ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง 















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น