20/9/56

สรรพคุณของถั่งเฉ้า

ถั่งเฉ้า พบได้ในแถบทุ่งหญ้าบนภูเขาประเทศจีน (ธิเบต) เนปาล และภูฏาน ระดับความสูง 10,000-12,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยง ซึ่งส่วนใหญ่เพาะในบริเวณภาคใต้ในมณฑลชิงไห่ เขตซางโตวในธิเบต มณฑลเสฉวน ยูนนาน และกุ้ยโจว การเก็บถั่งเช่าจะเก็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เมื่อขุดตัวหนอนขึ้นจากดินแล้ว ล้างน้ำให้สะอาด แล้วตากแห้ง การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในที่แห้ง

          ถั่งเฉ้า ถือได้ว่าเป็นยาสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีนนานนับศตวรรษ มีสรรพคุณทางยาแผนโบราณที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศจีนในเรื่องของกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ และใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงอวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ และไต เป็นต้น







สรรพคุณทางการแพทย์แผนจีน และปริมาณการใช้ 


ตังถั่งเฉ้า มีรสหวาน ฤทธิ์ ปานกลาง กลิ่นหอม เป็นยาบำรุงที่ฤทธิ์ไม่ร้อน บางท่านบอกอุ่น (ยาบำรุงส่วนใหญ่ฤทธิ์ค่อนข้างร้อน) มีสรรพคุณ บำรุงไต แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ไอ ละลายเสมหะ หอบหืด ไอเรื้อรัง อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หลั่งเอง (ฝันเปียกบ่อยๆ) เข่าอ่อนเอวอ่อน และเป็นยาบำรุงสาหรับผู้ป่วยหลังฟื้นไข้
ปริมาณการใช้ ครั้งละ 3-9 กรัม โดยทั่วไปต้มกับน้าเพื่อรับประทาน สาหรับผู้มีอาการร้อนคอแห้ง ควรระวังการใช้ มีการทดลองทางเภสัชวิทยา พบว่า น้ำสกัดจากถั่งเช่า มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด นอกจากนี้ มีสารสกัดจากตังถั่งเช่าเป็นสารผลึกสีเหลืองอ่อน ทดลองในหลอดทดลองพบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด

องค์ประกอบทางเคมีของถั่งเฉ้า



          ถั่งเฉ้าอุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ 
โพลีแซคคาไรด์ (galactomannan)
นิวคลีโอไทด์ (adenosine, cordycepin)
cordycepic acid
กรดอะมิโน และสเตอรอล (ergosterol, beta-sitosterol) 

นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น 

โปรตีน วิตามินต่างๆ ( Vit E, K, B1, B2 และ B12) 
และแร่ธาตุต่าง ๆ (โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และซิลิเนียม)


การศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา


          เป็นการทดลองในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์ปรับสมดุลของร่างกาย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านการอักเสบ และกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น



รายงานการวิจัยในคน

          ถึงแม้ว่า “ถั่งเฉ้า” มีการใช้อย่างแพร่หลายและมีราคาสูง แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาในคนอย่างเป็นระบบมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นกรณีศึกษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น



  • กรณีศึกษาฤทธิ์ต่อการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ พบว่าการวิจัยในผู้ชาย 22 คน ใช้ถั่งเช่าเป็นอาหารเสริม พบว่าช่วยเพิ่มจำนวนของสเปิร์มในอสุจิได้ 33% และมีผลลดปริมาณของสเปิร์มที่ผิดปกติลง 29% และมีอีกกรณีศึกษาในผู้ป่วยทั้งชายและหญิง 189 คน ที่มีความต้องการทางเพศลดลง พบว่าถั่งเช่าสามารถช่วยทำให้อาการและความต้องการทางเพศสูงขึ้น 66% นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทานถั่งเช่าจะช่วยปกป้องและช่วยให้การทำงานของต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากต่อมไทมัส และจำนวนของสเปิร์มที่สามารถปฏิสนธิได้เพิ่มขึ้น 300 % และช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศของผู้หญิงได้ 86%




  • กรณีศึกษาฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยทำการศึกษาในผู้ชาย 5 คน (อายุเฉลี่ย 35 ปี) ที่ถุงลมถูกกระตุ้นให้อักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น interlukin-1beta (IL-1beta), interlukin-6 (IL-6), interleukin-8 (IL-8), interleukin-10 (IL-10) และ tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) ได้ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น

  • กรณีศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยการให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3 กรัม/วัน พบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ถึง 95% ในขณะที่กลุ่มที่รักษาด้วยยาแผนปัจจุบันสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้เพียง 54%

  • กรณีศึกษาฤทธิ์ต่อการฟื้นฟูระบบการทำงานของไต โดยให้ผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังรับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3-5 กรัม/วัน พบว่าถั่งเช่าทำให้การทำงานของไตมีประสิทธิภาพดีขึ้น และพบว่าหลังจากให้ผู้ป่วยรับประทานถั่งเช่าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 1 เดือน สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะไตวาย ได้แก่ ลดความดันโลหิต ลดระดับโปรตีนในปัสสาวะ ลดการเกิดภาวะโลหิตจาง และช่วยเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) ซึ่งป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีรายงานว่าการให้ผู้ป่วยที่การทำงานของไตบกพร่องจากการใช้ยา gentamicin รับประทานถั่งเช่า 4.5 กรัม/วัน มีผลทำให้ระบบการทำงานของไตดีขึ้นเป็นปกติ 89 % เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมหลังจากรับประทานถั่งเช่าภายใน 6 วัน


เอกสารอ้างอิง
  1. http://www.naturalstandard.com/
  2. Shashidhar MG, Giridhar P, Udaya Sankar K, Manohar B. Bioactive principles from Cordyceps sinensis: A potent food supplement – A review. J Functional Food 2013;5(3):1013-30.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น